วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

พระสูง


           พระสูง โบสถ์มหาอุด แม้จะเป็นโบสถ์แต่ก็มีที่ตั้งที่มิได้อยู่ในเขตวัดแต่ประการใด
ที่ตั้งของหอพระสูง จะอยู่ในบริเวณทิศใต้ของสนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราชหากเปรียบเทียบให้เห็น ง่ายๆ ก็คือสนามหน้าเมืองแห่งนี้เปรียบได้ดัง “ท้องพระเมรุ” (สนามหลวง) ของกรุงเทพฯ นั่นเอง คือเป็นที่ตั้งเมรุเผาศพสำหรับคนชั้นสูงของเมืองนครศรีธรรมราชเท่านั้น และสามารถยืนยันด้วยบันทึกทางประวัติศาสตร์ว่าบริเวณแห่งนี้ไม่เคยเป็นวัดมา ก่อน หอพระสูงหรือโบสถ์มหาอุดแห่งนี้จึงไม่ใช่ ศาสนะสถานโดยตรงแน่นอน

          ที่ตั้งของหอหระสูงในปัจจุบันได้มีบันทึกระบุไว้ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ หรือสมัยสงคราม ๙ ทัพว่า มูลดินสูงที่เป็นที่ตั้งของหอพระสูงแห่งนี้ คือดินที่เกิดจากการขุดหลุมพรางแบบสนามเพลาะ ดินที่สูงขึ้นมาถึง ๕ วาได้ใช้ทำเป็นฐานปืนใหญ่ได้ถึง ๓ กระบอก แสดงว่าหอพระสูงถูกสร้างหลังจากนี้แต่ไม่มีบันทึกไว้แน่ชัดว่าสร้างเมื่อไร

          พิจารณารูปแบบของการก่อสร้างภายนอกก็จะพบว่า จะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ๔ ด้าน หลังคาเป็นแบบทรงจีน มุงด้วยกระเบื้องเคลือบ รูปทรง ๔ เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีประตูเข้าออกทางเดียวเป็นประตูลงสลักดานจากภายใน โดยรวมเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายแต่มีอิทธิพลของช่างฝีมือจีนมาปะปนอยู่มาก


ภายในหอพระสูงจะมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ประดิษฐานอยู่ ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “พระสูง” เป็นพระพุทธรูปที่ไม่มีโลกุตระ (ปลียอดแปดแนว) บนพระเศียร และมีจิตรกรรมฝาผนัง “ลายดอกพิกุล” หรือ “ลายดอกไม้ร่วง” ซึ่งเป็นศิลปะแบบจีนแต่สันนิษฐานว่าวาดประมาณสมัยรัชกาลที่ ๔ หรือหลังจากนั้นเพราะจิตรกรรมฝาผนังที่มีเนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกับพุทธ ประวัติจะไม่มีการวาดก่อนหน้านี้


          หอพระสูง มีความเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระเจ้าตากสินอย่างไร  นอกจากคำบอกเล่าของคนนครศรีธรรมราชที่บอกต่อกันมาแล้ว คำบอกเล่าของคนในตระกูล ณ นคร ซึ่งมีเชื้อสายตรงน่าจะเป็นคำพูดที่มีน้ำหนักกว่า “หอพระสูงแห่งนี้คือที่พักพระบรมศพของสมเด็จพระเจ้าตากสินที่จัดขบวนแห่มา จากเขาขุนพนม ก่อนที่จะถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ สนามหน้าเมือง เดิมจะสร้างเป็นวิหารชั่วคราวอยู่ก่อน เมื่อเสร็จพิธีแล้วเพื่อไม่ให้ใครมาใช้สถานที่บริเวณดังกล่าวซ้ำ (เพราะเป็นที่ที่พระเจ้าแผ่นดินเคยใช้) จึงสร้างหอพระสูงคร่อมไว้ โดยใต้ฐานขององค์พระสูงเชื่อกันว่ามีพระบรมอัฐิบางส่วนของพระองค์บรรจุไว้ ด้วย  โดยการอำพรางพระศพได้มีคำบอกเล่าจาก พระครูสมพร ลาภิโก เจ้าอาวาสวัดสะบ้าย้อย ต.นาเรียง อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช และพ่อท่านรอด เจ้าอาวาสวัดประดู่  ต.ท่าวัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช (มรณภาพแล้วทั้ง ๒ รูป) ว่าบริเวณหอพระสูงได้ใช้ปลงพระศพของสมเด็จพระเจ้าตากสิน และเจ้าพระยานคร(หนู) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งทำพิธีพร้อมกันเพื่ออำพรางพระบรมศพของสมเด็จพระ เจ้าตากสิน

          บท เพลงกล่อมเด็กโบราณ ที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น ซึ่งบางคนร้องออกมาโดยที่ไม่รู้ความหมายก็มี ซึ่งบทเพลงกล่อมเด็กที่ว่านี้มีร้องเฉพาะที่นครศรีธรรมราช มีใจความดังต่อไปนี้

                        ฮาเออ

                        ว่าตาแป๊ะหนวดยาว

                        ถึงคราวสิ้นทุกข์

                        เอาศพใส่โลงดีบุก

                        ไปค้างในดอนดง

                        ลูกเจ้าจอมหม่อมลับ

                        ถือฉัตรถือธง

                        เอาศพไปค้างในดอนดง

                        ค่อยปลงเมรุใหญ่เหอ

           เพียง แค่บทเพลงกล่อมเด็กธรรมดาหากไม่วิเคราะห์ให้ละเอียดลึกซึ้งก็อาจมอง ไม่เห็นความเชื่อมโยง มีประเด็นจากเนื้อเพลงนำมาวิเคราะห์ได้ดังนี้

“โลง ดีบุก” เป็นเครื่องยศของชนชั้นสูงของเมืองนครศรีธรรมราชเท่านั้น เพราะดีบุกจะมีราคาแพงและเป็นของมีค่าใช้ประกอบเครื่องยศของเจ้าเมือง ประเทศราชเช่นนครศรีธรรมราชเท่านั้น

“ลูกเจ้าจอมหม่อมลับ ถือฉัตรถือธง” แสดงให้เห็นว่าผู้ตายไม่ใช่สามัญชน เพราะมีเครื่องสูงอย่างฉัตรและธงมาประกอบในพิธี

“เอา ศพไปค้างใว้ในดอนดง ค่อยปลงเมรุใหญ่เหอ” คำว่า “ปลง” แสดงว่าผู้ตายมียศสูง แต่ทำไมต้องเอาศพไปไว้ในป่าก่อน แล้วจึงค่อยมาเผาที่เมรุภายหลัง ซึ่งเป็นไปได้หรือไม่ว่า ผู้ตายมียศเทียบเท่าเจ้าเมืองประเทศราช อาศัยอยู่ในป่าเขาก่อนที่จะย้ายศพออกมาเผา ซึ่งหากวิเคราะห์แล้วจะมีความสอดคล้องกับคำบอกเล่าของท้องถิ่นที่มีมายาวนาน ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงหนีภัยการเมืองมายังนครศรีธรรมราช และเสด็จประทับที่วัดเขาขุนพนมที่อยู่ในเขตป่าเขาจนสิ้นพระชนม์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น