วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

พระสูง


           พระสูง โบสถ์มหาอุด แม้จะเป็นโบสถ์แต่ก็มีที่ตั้งที่มิได้อยู่ในเขตวัดแต่ประการใด
ที่ตั้งของหอพระสูง จะอยู่ในบริเวณทิศใต้ของสนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราชหากเปรียบเทียบให้เห็น ง่ายๆ ก็คือสนามหน้าเมืองแห่งนี้เปรียบได้ดัง “ท้องพระเมรุ” (สนามหลวง) ของกรุงเทพฯ นั่นเอง คือเป็นที่ตั้งเมรุเผาศพสำหรับคนชั้นสูงของเมืองนครศรีธรรมราชเท่านั้น และสามารถยืนยันด้วยบันทึกทางประวัติศาสตร์ว่าบริเวณแห่งนี้ไม่เคยเป็นวัดมา ก่อน หอพระสูงหรือโบสถ์มหาอุดแห่งนี้จึงไม่ใช่ ศาสนะสถานโดยตรงแน่นอน

          ที่ตั้งของหอหระสูงในปัจจุบันได้มีบันทึกระบุไว้ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ หรือสมัยสงคราม ๙ ทัพว่า มูลดินสูงที่เป็นที่ตั้งของหอพระสูงแห่งนี้ คือดินที่เกิดจากการขุดหลุมพรางแบบสนามเพลาะ ดินที่สูงขึ้นมาถึง ๕ วาได้ใช้ทำเป็นฐานปืนใหญ่ได้ถึง ๓ กระบอก แสดงว่าหอพระสูงถูกสร้างหลังจากนี้แต่ไม่มีบันทึกไว้แน่ชัดว่าสร้างเมื่อไร

          พิจารณารูปแบบของการก่อสร้างภายนอกก็จะพบว่า จะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ๔ ด้าน หลังคาเป็นแบบทรงจีน มุงด้วยกระเบื้องเคลือบ รูปทรง ๔ เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีประตูเข้าออกทางเดียวเป็นประตูลงสลักดานจากภายใน โดยรวมเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายแต่มีอิทธิพลของช่างฝีมือจีนมาปะปนอยู่มาก


ภายในหอพระสูงจะมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ประดิษฐานอยู่ ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “พระสูง” เป็นพระพุทธรูปที่ไม่มีโลกุตระ (ปลียอดแปดแนว) บนพระเศียร และมีจิตรกรรมฝาผนัง “ลายดอกพิกุล” หรือ “ลายดอกไม้ร่วง” ซึ่งเป็นศิลปะแบบจีนแต่สันนิษฐานว่าวาดประมาณสมัยรัชกาลที่ ๔ หรือหลังจากนั้นเพราะจิตรกรรมฝาผนังที่มีเนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกับพุทธ ประวัติจะไม่มีการวาดก่อนหน้านี้


          หอพระสูง มีความเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระเจ้าตากสินอย่างไร  นอกจากคำบอกเล่าของคนนครศรีธรรมราชที่บอกต่อกันมาแล้ว คำบอกเล่าของคนในตระกูล ณ นคร ซึ่งมีเชื้อสายตรงน่าจะเป็นคำพูดที่มีน้ำหนักกว่า “หอพระสูงแห่งนี้คือที่พักพระบรมศพของสมเด็จพระเจ้าตากสินที่จัดขบวนแห่มา จากเขาขุนพนม ก่อนที่จะถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ สนามหน้าเมือง เดิมจะสร้างเป็นวิหารชั่วคราวอยู่ก่อน เมื่อเสร็จพิธีแล้วเพื่อไม่ให้ใครมาใช้สถานที่บริเวณดังกล่าวซ้ำ (เพราะเป็นที่ที่พระเจ้าแผ่นดินเคยใช้) จึงสร้างหอพระสูงคร่อมไว้ โดยใต้ฐานขององค์พระสูงเชื่อกันว่ามีพระบรมอัฐิบางส่วนของพระองค์บรรจุไว้ ด้วย  โดยการอำพรางพระศพได้มีคำบอกเล่าจาก พระครูสมพร ลาภิโก เจ้าอาวาสวัดสะบ้าย้อย ต.นาเรียง อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช และพ่อท่านรอด เจ้าอาวาสวัดประดู่  ต.ท่าวัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช (มรณภาพแล้วทั้ง ๒ รูป) ว่าบริเวณหอพระสูงได้ใช้ปลงพระศพของสมเด็จพระเจ้าตากสิน และเจ้าพระยานคร(หนู) เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งทำพิธีพร้อมกันเพื่ออำพรางพระบรมศพของสมเด็จพระ เจ้าตากสิน

          บท เพลงกล่อมเด็กโบราณ ที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น ซึ่งบางคนร้องออกมาโดยที่ไม่รู้ความหมายก็มี ซึ่งบทเพลงกล่อมเด็กที่ว่านี้มีร้องเฉพาะที่นครศรีธรรมราช มีใจความดังต่อไปนี้

                        ฮาเออ

                        ว่าตาแป๊ะหนวดยาว

                        ถึงคราวสิ้นทุกข์

                        เอาศพใส่โลงดีบุก

                        ไปค้างในดอนดง

                        ลูกเจ้าจอมหม่อมลับ

                        ถือฉัตรถือธง

                        เอาศพไปค้างในดอนดง

                        ค่อยปลงเมรุใหญ่เหอ

           เพียง แค่บทเพลงกล่อมเด็กธรรมดาหากไม่วิเคราะห์ให้ละเอียดลึกซึ้งก็อาจมอง ไม่เห็นความเชื่อมโยง มีประเด็นจากเนื้อเพลงนำมาวิเคราะห์ได้ดังนี้

“โลง ดีบุก” เป็นเครื่องยศของชนชั้นสูงของเมืองนครศรีธรรมราชเท่านั้น เพราะดีบุกจะมีราคาแพงและเป็นของมีค่าใช้ประกอบเครื่องยศของเจ้าเมือง ประเทศราชเช่นนครศรีธรรมราชเท่านั้น

“ลูกเจ้าจอมหม่อมลับ ถือฉัตรถือธง” แสดงให้เห็นว่าผู้ตายไม่ใช่สามัญชน เพราะมีเครื่องสูงอย่างฉัตรและธงมาประกอบในพิธี

“เอา ศพไปค้างใว้ในดอนดง ค่อยปลงเมรุใหญ่เหอ” คำว่า “ปลง” แสดงว่าผู้ตายมียศสูง แต่ทำไมต้องเอาศพไปไว้ในป่าก่อน แล้วจึงค่อยมาเผาที่เมรุภายหลัง ซึ่งเป็นไปได้หรือไม่ว่า ผู้ตายมียศเทียบเท่าเจ้าเมืองประเทศราช อาศัยอยู่ในป่าเขาก่อนที่จะย้ายศพออกมาเผา ซึ่งหากวิเคราะห์แล้วจะมีความสอดคล้องกับคำบอกเล่าของท้องถิ่นที่มีมายาวนาน ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงหนีภัยการเมืองมายังนครศรีธรรมราช และเสด็จประทับที่วัดเขาขุนพนมที่อยู่ในเขตป่าเขาจนสิ้นพระชนม์

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อาคารเรียนหลังแรก

อาคารอึ่งค่ายท่าย


          พ.ศ. 2480 โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช เริ่มก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรก พระยาสุราษฎร์ธานี ข้าหลวงประจำจังหวัด ขุนบูรณวาท ธรรมการจังหวัดและหลวงอถรรปกรณ์โกศล อัยการจังหวัด ได้ขอความอนุเคราะห์จากคหบดีเจ้าของเหมืองแร่ที่อำเภอร่อนพิบูลย์ ชื่อ นายอึ่งค่ายท่าย บริจาคเงินเพื่อสร้างอาคารเรียนให้โรงเรียนสตรีประจำจังหวัด ซึ่งท่านได้บริจาคเป็นจำนวน 30,000 บาท สมทบกับเงินงบประมาณของกระทรวงธรรมการ 12,000 บาท รวมค่าก่อสร้าง 42,000 บาท การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2482 

          การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2482 จึงใช้ชื่ออาคารเรียนหลังนี้ว่า“อึ่งค่ายท่าย” เป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนที่ภูมิฐานสง่างาม ตราบจนปัจจุบัน

อึ่งค่ายท่าย คู่กัลยาณีศรีธรรมราช
ก้องประกาศช่วยพื้นฐานการศึกษา
ท่านช่วยเหลือสร้างอาคารเนิ่นนานมา
คงคุณค่าคือความดีที่เลื่องลือ

ด้วยเมตตาอึ่งค่ายท่ายได้สรรค์สร้าง
เป็นแบบอย่างค่าของคนชนนับถือ
ด้วยน้ำใจด้วยความดีด้วยฝีมือ
จารึกชื่ออึ่งค่ายท่ายได้ยินยล

กัลยาณีฯรำลึกค่าจารึกไว้
จากหัวใจรักผูกพันเกษมสม
รู้สำนึกคุณค่าเข้มเต็มกมล
อึ่งค่ายท่ายเปี่ยมล้นชนศรัทธา

จดบันทึกในบรรทัดประวัติศาสตร์
กัลยาณีศรีธรรมราชคงคุณค่า
อึ่งค่ายท่ายตึกคระหง่านตระการตา
เคียงคู่ฟ้ากัลยาณีศรีนคร




 

วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ครู...คือแสงสว่าง












พิธีมุฑิตาคารวะคณาจารย์














งาน คืนสู่ร่มจัน  ครั้งที่ ๑๒

ณ  ห้องประชุมอาคาร ๒
โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช













๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ 















เพลงประกอบ  พระคุณที่สาม


วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วันอานันทมหิดล



9 มิถุนายน วันอานันทมหิดล

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557

บวงสรวงศรีปราชญ์


บวงสรวงศรีปราชญ์

                  โอม  ศรีเอยศรีสวัสดิ์ ข้าตั้งสัจจะเคารพ นอบนบน้อมบูชา วิญญาณ์ศรีปราชญ์กวี ผู้มีวิชาเป็นเลิศ สุดประเสริฐล้ำพรรณา อย่าถือโทษาพยาบาท การณ์ชีวาตฆ์พังภินท์ เอาแผ่นดินเป็นพยาน สาบานบอกบริสุทธื์ ความผ่องผุดปรากฏ ขอจงงดโทษา จงมารับสังเวยพลี หลายหลากมีธูปเทียนทอง มาลีวิลาส  งามสะอาดตระการ โอฬารกระยาสังเวยโภชน์ ขอจงเงี่ยโสตสดับ รับคำพจน์สนอง เผือข้าปวงอวยชัย ในวาระฤกษ์พิธี เปรมปรีดิ์รับเครื่องพลีบูชิต เห็นผิดใดจงเมตตา ผ่อนโทษานุโทษ ขอจงโปรดปกปักษ์ รักษาปวงข้าพเจ้าเหล่ากัลยาณี มากประมาณให้สำราญชนม์ยืน ทุกวันคืนชื่นชม อุดมวรรณะผ่องฉวี ภัยมากมีอย่าใกล้กลาย  โรคร้ายคลายหายสิ้น ทุกชีวินเจริญยศ เฟื่องปรากฏสามารถ เปรื่องปราชญ์เลิศสรรพวิทย์ ก่อกิจสำเร็จประสงค์ ขอจงอวยพรศรีสวัสดิ์ ปัดสรรพภัยสิ้นทุกประการ นำศฤงคารโภคา ล้วนล้ำมาเพิ่มพูน ประมูลมากธนสาร ทุกวันวารเนืองนิตย์ ประสิทธิ์แด่ปวงข้าพเจ้า บรรดาเหล่ากัลยาณีไซร้ ให้สถาพรเจริญมาก สมพรปมกข้าพร้อง เชิญสรรพจารีย์ซร้องแซ่ ให้ชัยเฉลิมโสตถิเทอญฯ

              >>>>>>>>>>>>>>*********<<<<<<<<<<<<<<

สระล้างดาบ ปี ๒๕๕๗

สระล้างดาบ 
วัน"คืนสู่ร่มจัน" ครั้งที่ ๑๒
๗ มิถุนายน ๒๕๕๗

สระล้างดาบที่ประหารศรีปราชญ์
    ที่เมืองนครศรีธรรมราชมีตำนานพื้นบ้านของสถานที่แห่งหนึ่งเรียกกันสืบมาว่า สระล้างดาบศรีปราชญ์ บ้างว่าอยู่บริเวณหลังจวนเจ้าเมืองเก่า บ้าง ก็ว่าอยู่ในบริเวณโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช เรื่องเล่าเกี่ยวกับสระล้างดาบศรีปราชญ์นี้มีความ สัมพันธ์กับเค้าเรื่องของกวีศรีปราชญ์ ที่ทำความผิด กฎมณเทียรบาล ได้รับพระมหากรุณาธิคุณลดหย่อน ผ่อนโทษเนรเทศไปอยู่ที่หัวเมืองไกลถึงนครศรีธรรมราช เชื่อกันว่าอาจเป็นที่มาของวรรณคดีนิราศโบราณโคลงกำสรวลศรีปราชญ์ หรือนิราศเมืองนครศรีธรรมราช กล่าวกันว่า ต่อมาศรีปราชญ์ทำความผิดซ้ำอีก จนถูกเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชตัดสินถึงขั้นประหารชีวิตแล้วนำดาบมาล้างน้ำ ณ สระแห่งนี้


โองการธรณีสาส์น

นโมสามจบ
สาธุ สัคเคกาเม จะรูเป คิริสิขะระตะเฎ จันตะลิก วิมาเน
ทีเปรัฎเฐ จะคาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
ภุมมา จายันตุเทวา ชะละถุละวิสะเม ยักขะ คันธัพ พะนาคา
ติฏฐันตา สันติเกยัง มุนิวะระ จะนัง สาธะโว เมสุณันตุ
ธัมมะ สะวะนะกาโล อะยัมภะ ทันตา ฯ (สามครั้ง)     

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557